วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556




แบ่งออกเป็น ช่วง
         1. การวาดภาพลายเส้นด้วยปากกา ( ไม่ต้องร่างด้วยดินสอ )
-ต้องวางแผนก่อนวาดด้วยการจุดกำหนดขนาดภาพที่เราต้องการ  แล้วลากเส้นไปตามจุดที่กำหนดไว้เพราะ จะทำให้ได้ภาพใกล้เคียงกับต้นฉบับ
-ถ้าต้อการงให้ภาพออกมาสวยงามให้ใช้การลากเส้นเพียงเส้นเดียว ไม่ต้องลากซ้ำกัน

         2. การระบายสี
   ให้แบ่งสีออกเป็น โทน คือ โทนร้อนและโทนเย็น และแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ คือ

         สีโทนร้อน มีดังนี้
ชุดที่ ดำ - น้ำตาล - แดง
ชุดที่ น้ำตาล - แดง - ส้ม
ชุดที่ แดง - ส้ม - เหลือง
         
           สีโทนเย็น มีดังนี้
ชุดที่ ดำ - น้ำเงิน - เขียวแก่
ชุดที่ เขียวแก่ - เขียวอ่อน - เหลือง
ชุดที่ น้ำเงิน - เขียวแก่ - เขียวอ่อน
วัตถุประสงค์

1.
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง
2.
เพื่อฝึกการถ่ายทอดจินตนาการเป็นรูปภาพ
3.
เพื่อฝึกการคิดในทางสร้างสรรค์
4.
เพื่อฝึกเขียนการ์ตูนเป็นเรื่องราว
5.
เพื่อฝึกสมาธิ
กระบวนการทำงาน
1.
การฝึกทักษะย่อย คือ คิดอย่างเป็นระบบ โดย
-
เริ่มวางแผนก่อนว่าจะวาดรูปอะไรหรือนิทานเรื่องใด ในนิทานมีตัวละครตัวใดบ้าง จะวาดไว้ตรงไหน เป็นต้น
-
เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
2.
ขั้นตอนจริง
1.
วาดรูปภาพตามเนื้อเรื่องตามที่เราได้วางแผนไว้ด้วยปากกาดำ
2.
ระบายสีโดยการไล่โทนสีให้สวยงาม
3.
นำปากกาดำมาเน้นในสิ่งที่อยากจะให้โดดเด่น เช่น หัวข้อเรื่อง
4.
เขียนเนื้อเรื่อง พร้อมคติสอนใจไว้หลังกระดาษ
การประเมินผลงานด้วยตนเอง

1.
เส้นในการวาดภาพต่อเนื่องกัน ไม่ขาดหาย หรือขีดซ้ำไปมา
2.
ภาพโดยรวมดูสวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน เข้าใจง่าย
3.
การระบายสีกลมกลืนกันไม่ออกมาเป็นชั้นๆ
4.
ภาพ เนื้อหา และคติสอนใจสอดคล้องกัน เนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจง่าย
การนำไปประยุกต์ใช้
1.
สามารถทำเป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กเล็ก เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กๆได้
2.
สามารถนำเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบไปสอนเด็กได้ในเรื่องของการวาดรูป  การระบายสีอย่างถูกวิธี

3. นำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ
ผลงานนิทานเรื่อง ยังไงก็...เพื่อน


ผลงานสมุดวาดภาพ